วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แนวทางการป้องกันการเสพอบายมุขหรือใช้สารเสพติดในโรงเรียน


แนวทางการป้องกันการเสพอบายมุข

หรือใช้สารเสพติดในโรงเรียน


                     เนื่องจากปัญหาการเสพอบายมุขของนักเรียนเกิดจากปัญหาครอบครัว และปัญหาในโรงเรียนเป็นสำคัญ จึงทำให้สภาพแวดล้อมอย่างอื่นเข้ามามีอิทธิพลต่อเยาวชน เช่น กลุ่มเพื่อน และสถานเริงรมณ์ต่าง ๆ ซึ่งเข้ามาชักชวน เย้ายวนให้เยาวชนหลงมัวเมากับอบายมุขเหล่านั้น
ซึ่งเราไม่อาจห้ามมิให้เยาวชนพบกับสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือการให้ภูมิต้านทานแก่นักเรียน ซึ่งแท้จริงแล้วทั้งทั้งครอบครัวและโรงเรียนต่างก็มีหน้าที่สร้างภูมิต้านทานนี้แก่นักเรียนโดยตรงอยู่แล้ว และยังไม่สายเกิดไปที่จะกลับคืนสู่บทบาทดังกล่าวนี้อีกครั้งหนึ่ง โรงเรียนจึงมีหน้าที่ต้องให้ความกระจ่างในการแก้ปัญหาอบายมุขแก่ผู้ปกครองในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษา และเป็นแหล่งวิทยาการความรู้บริการแก่สังคม ดังนั้นการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอบายมุขที่ดึงครอบครัวเข้ามาเกี่ยวข้องจึงเพื่อการแก้ไขปัญหาอบายมุขประสบผลดี 

           1. ครอบครัว จากรายงานวิจัยเรื่อง "บทบาทของครอบครัวในการป้องกันการติดยาเสพติด" ของ ผศ. ดร. ลาดทองใบ ภูอภิรมณ์ แห่งสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ได้ให้ข้อเสนอแนะในการสร้างภูมิต้านทางยาเสพติดให้แก่นักเรียน โดยการศึกษานักเรียน ม.1 และ ม.3 รวม 667 คนไว้อย่างน่าสนใจคือ
        1.1 เยาวชนไทยยังไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดอย่างถูกต้อง และมากพอที่จะรู้สึกหวาดกลัวต่อพิษภัยของยาเสพติด
        1.2 บิดามารดา ผู้ปกครอง ครู และผู้เกี่ยวข้องกับเยาวชน เป็นบุคคลสำคัญที่ควรจะมีความรับผิดชอบในการป้องกันยาเสพติดในเยาวชนร่วมกัน ดังนั้นบุคคลเหล่านี้จึงควรจะมีความรับผิดชอบในการป้องกันยาเสพติดในเยาวชนร่วมกัน ดังนั้นบุคคลเหล่านี้จึงควรได้รับความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดทุกแง่ทุกมุม เพื่อจะได้ดูแลเยาวชนอย่างใกล้ชิดและสามารถช่วยแก้ไขปัญหาของเยาวชนเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษได้ทันท่วงที
        1.3 บทบาทของบิดามารดาเกี่ยวกับอบรมเลี้ยงดูเด็ก ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดภายในครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการสร้างภูมิต้านทานการเสพติดของเด็ก จากการศึกษาพบว่าเด็กที่รายงานว่าได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน และใช้เหตุผลมากเท่าใดเด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเสพติด และต้านอิทธิพลจากการชักจูงของเพื่อนมากเท่านั้น แต่ถ้าเด็กรายงานว่าได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนน้อยและใช้เหตุผลน้อย เด็กก็จะมีความใกล้ชิดกับยาเสพติดมาก ทั้งนี้แสดงว่าการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมากและใช้เหตุผลมาก มีส่วนสำคัญในการสร้างภูมิต้านทานการเสพติดในเด็กอย่างมีประสิทธิผล
            การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เป็นวิธีอบรมเลี้ยงดูที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ส่วนการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน มีความสำคัญเป็นอันดับรองซึ่งการอบรมเลี้ยงดูทั้งสองแบบ พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับภูมิต้านทานการเสพติดของเด็ก บิดามารดาควรใช้การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ตั้งแต่บุตรยังอยู่ในวัยเด็ก แต่โดยธรรมชาติเด็กมักจะลืมง่าย ผู้ใหญ่จึงจำเป็นต้องหมั่นชี้แจงเหตุผลแก่เด็กอยู่เป็นนิจเพื่อเป็นการเตือนความจำของเด็กให้รู้จักควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่นตอนต้นจนถึงวัยรุ่นตอนกลาง เด็กมีความพร้อมทางด้านสติปัญญา สามารถใช้ความคิด และแสดงความคิดเห็นของตนเองได้อย่างเสรียิ่งกว่านั้นเด็กยังสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมหรือไม่เห็นร่วมกับผู้อื่นได้ สำหรับการเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนเป็นการปฏิบัติของบิดามารดาต่อบุตร ด้วยการให้ความรักและยกย่องลูกตลอดทั้งแสดงให้ลูกรู้สึกว่าตนเป็นที่ยอมรับของพ่อแม่ นอกจากนี้บิดามารดายังให้ความเอาใจใส่ดูแลทุกข์สุข และสนใจทำกิจกรรมร่วมกับบุตรด้วย และในการอบรมเลี้ยงดูเด็กทั้งสองแบบ ดังกล่าว หากมีการให้รางวัลหรือลงโทษ บิดามารดาควรกระทำให้เหมาะสมกับเหตุผลตามพฤติกรรมของเด็ก ฉะนั้นบิดามารดาควรจะตระหนักว่าหลักในการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่สำคัญยิ่งคือ การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบใช้เหตุผลมาก และรักสนับสนุนมาก 
         1.4 เสริมสร้างทัศนคติที่ดีของเด็กต่อการควบคุมสื่อมวลชนของผู้ปกครอง โดยการชี้แนะให้ ให้เด็กเห็นคุณประโยชน์ของการรับสื่อมวลชนที่มีประโยชน์ ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความพอใจที่บิดามารดาให้ความเอาใจใส่ต่อตนในการรับสื่อมวลชน และในที่สุดเด็กก็พร้อมที่จะรับฟังคำแนะนำของบิดามารดาและปฏิบัติตาม
        1.5 กลุ่มเยาวชนที่ควรได้รับการเสริมสร้างภูมิต้านทานการเสพติด 3 ด้าน ซึ่งได้แก่ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเสพติด การปฏิเสธการชักจูงจากเพื่อน และความสามารถในการที่จะไม่เอาตัวเข้าไปใกล้ชิดกับยาเสพติด มีดังนี้
1.5.1 เด็กที่บิดามีการศึกษาต่ำ ควรได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมากและใช้เหตุผล                            มากจากบิดา มารดา จึงจะช่วยให้เด็กมีภูมิต้านทานการเสพติดทั้ง 3 ด้านสูง เหตุผลมาก                          พร้อมทั้งควรได้รับการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการควบคุมสื่อมวลชนของผู้ปกครองจึงจะ
  ช่วยให้เด็กมีภูมิต้านทานการเสพติดทั้ง 3 ด้านสูง ทานการเสพติดทั้ง 3 ด้านสูง และถ้า                          บิดามารดาใช้การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลสูง ก็จะช่วยให้เด็ก สามารถต้านต่ออิทธิพล                        การชักจูงจากเพื่อนได้มาก

1.5.2 เด็กจากครอบครัวขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ควรได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน                            มาก และใช้
1.5.3 เด็กที่อาศัยอยู่กับบิดามารดา ควรได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมากจึงจะช่วยให้                        เด็กมีภูมิต้าน

        2. ฝ่ายโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา


        ปัจจุบันโรงเรียนเป็นสถานที่รับการผลักภาระการเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน โรงเรียนจึงเป็นที่รวมของเยาวชนซึ่งนับได้ว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของโครงการนี้ การที่สังฆมณฑลดูแลทั้งโรงเรียน และชุมชน จึงเอื้ออำนวยต่อโครงการนี้อยู่มาก
        2.1 สมาคมครู-ผู้ปกครองตั้งขึ้นมาเพื่อร่วมมือกันพัฒนาเยาวชนระหว่างครอบครัวและโรงเรียนทุกครั้งที่มีการประชุมร่วมกัน ควรอย่างยิ่งที่จะหยิบยกปัญหาอบายมุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหายาเสพติดขึ้นมาพิจารณาหาทางแก้ไข
        2.2 ในวันประชุมผู้ปกครอง ควรให้มีการอบรมผู้ปกครองให้เห็นถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษา ว่ามีส่วนรับผิดชอบร่วมกันอย่างไร ชี้แนะถึงวิธีเลี้ยงดูบุตรอย่างถูกวิธี (โดยการเชิญวิทยากรจากภายนอก) มิใช่เป็นเพียงร่วมมือกันด้านการเรียนการสอนเท่านั้น แต่หมายถึงการพัฒนาเยาวชนทั้งครบอีกด้วย 
        2.3 ให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีนักเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น
        2.4 ให้ครูสอดส่องพฤติกรรมของนักเรียน ซึ่งมีท่าทีว่าประสบปัญหาครอบครัวหรือปัญหายาเสพติด หรืออบายมุขรูปแบบอื่น ๆ ให้รีบทำการบำบัดรักษา โดยปกปิดเป็นความลับโรงเรียนควรหาวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้นักเรียนเหล่านี้รวมกลุ่มกันเพื่อลดอบายมุขเช่น บุหรี่ สถานบริการ เหล้า เป็นต้น จำไว้เสมอว่า ผู้เสพยาเสพติดไม่ใช่อาชญากร ตราบใดที่เขายังมิได้ก่ออาชญากรรม
        2.5 ครูที่ปรึกษา (นักสังคมสงเคราะห์) และครูแนะแนว และในบางวิชา เช่น วิชาศีลธรรม และสุขศึกษา มีบทบาทอย่างมากหรือโดยตรงต่อการต่อต้าน ให้คำปรึกษาแก่นักเรียนในปัญหาอบายมุขและควรมีอย่างเพียงพอ
        2.6 ให้ผู้บริหารโรงเรียนสนับสนุนกลุ่มสนใจ หรือกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียนมากขึ้น เพื่อมุ่งให้เยาวชนใช้เวลาว่างในทางสร้างสรรค์ และให้มีการต่อต้านอบายมุขอย่างกว้างขวาง
        2.7 ให้การศึกษาเรื่องอบายมุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถานบริการ และยาเสพติดให้ครูอาจารย์ เยาวชนได้รู้เท่าทัน โดยอาจจัดเป็นนิทรรศการร่วมกับโรงเรียนอื่น ๆ
        2.8 ให้มีการอบรมนักเรียนเป็นประจำทุกเดือน ในเรื่องปัญหาอบายมุข โดยการจัดหาสไลด์ภาพยนตร์ หรือการบรรยายพิเศษจากวิทยากรชำนาญการภายนอก
        2.9 กวดขันระเบียบวินัยของครูให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักเรียน และควรเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาบรรจุครูเข้าสอน
        2.10 ให้กำหนดเขตปลอดอบายมุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุหรี่ในโรงเรียน กวดขันสินค้าที่เข้ามาจำหน่ายในโรงเรียน ซึ่งมักมีการ์ตูนลามก หรือหนังส่องครั้งละบาทซึ่งมักจะมีภาพลามกอยู่ในนั้นด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนกระตุ้นให้เยาวชนทดลองเสพอบายมุขมากขึ้น
        2.11 ควรมีรางวัลให้แก่นักเรียนที่ประกอบคุณงามความดีในแง่ศีลธรรม โดยประกาศให้เป็นที่รู้ทั่วกันเพื่อเป็นแบบอย่าง และยังความภาคภูมิใจแก่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตรหลาน
        2.12 ควรให้มีการเข้าเงียบ หรืออบรมฟื้นฟูจิตใจนักเรียน ตามคำสอนศาสนาของเยาวชนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
        2.13 ในการดำเนินงานตามแผนดังกล่าวทั้งหมด จะต้องเรียกประชุมครูเพื่อร่วมปรึกษาวางแผนเชิงปฏิบัติการในทุกระดับ กล่าวคือ ตั้งแต่แนวคิดจนกระทั่งถึงวิธีการ ขั้นตอนปฏิบัติ จำไว้เสมอว่า จะต้องให้ครูตระหนักถึงปัญหานี้ และให้ร่วมมือกันด้วยความสมัครใจ 

อ้างอิง : http://www.library.au.edu/bro-martin/work45-8.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น